088-843-4516, 081-915-8815
contact@baanluangrajamaitri.com
252 ถ.สุขาภิบาล ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี
“กว่าจะเป็น…บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี” … ตอนที่ 1

อย่างที่รู้กันดีว่า ชุมชนริมน้ำจันทรบูรนั้นมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน แต่ก่อนหน้านี้อาจไม่ได้รับการดูแลสักเท่าไหร่ จนเมื่อปีพ.ศ. 2552 ชุมชนโดยชมรมพัฒนาริมน้ำจันทบูรได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี สถาบันอาศรมศิลป์ และหน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านจนเกิดเป็นวิสัยทัศน์ “วัฒนธรรมนำการค้า” เพื่อให้การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและฟื้นฟูชุมชนเป็นไปได้อย่างยั่งยืน และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของ “บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี”

แต่กว่าจะเป็นบ้านพักหลังงามสำหรับให้นักท่องเที่ยวค้างแรม พร้อมชมความสวยงามของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบนี้ได้ ก็ต้องใช้ทั้งความร่วมมือร่วมใจและทักษะจากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาช่วยกันปรับปรุงและบูรณะบ้านหลังนี้ขึ้นมาให้มีชีวิตอีกครั้ง โดยรูปแบบดั้งเดิมของตัวอาคารเป็นอาคารทรงเรือนแถวปูนได้รับอิทธิพลรูปแบบสถาปัตยกรรมที่งดงามตามอิทธิพล ชิโนโปตุกีสของเรือนแถวในปีนัง เนื่องจากหลวงประมวณราชทรัพย์ (บิดาของหลวงราชไมตรี) ได้ทางไปทำการค้าที่ปีนังและมะละกา

เนื่องจากตัวบ้านมีอายุกว่า 120 ปีและวัสดุส่วนใหญ่นั้นเป็นไม้ แน่นอนว่า ต้องเสื่อมสภาพและผุพังตามกาลเวลา รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากปลวก แต่ถึงกระนั้น ก็ยังคงสภาพและมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับประโยชน์ใช้สอยใหม่ได้ ซึ่งในการปรับปรุงนั้น ทางผู้ออกแบบได้ใช้แนวทางการอนุรักษ์แบบ Adaptive-Reuse (การปรับเลี่ยนประโยชน์ใช้สอย) มาปรับใช้ ทำให้สามารถแยกแยะส่วนดั้งเดิมและส่วนที่ถูกปรับปรุงใหม่ได้ โดยที่ส่วนต่อเติมใหม่นั้นเป็นวัสดุที่แข็งแรงแต่สามารถรื้อถอนได้โดยไม่กระทบกับตัวอาคารเก่า อย่างส่วนหลังคาสังกะสี ผู้ออกแบบเลือกที่จะไม่เปลี่ยนวัสดุ เนื่องจากสังกะสีเดิมของบ้านนี้ เป็นสังกะสียุคแรกๆ ของประเทศไทยที่มีความหนาและแข็งแรง และส่วนภายนอกนั้นได้รับการทาสีใหม่ตามสีเดิมของอาคาร ซึ่งสีใหม่ที่ทานั้นเป็นเสมือนวัสดุเคลือบผนังเพื่อรักษาปูนฉาบเดิมและอิฐโบราณของบ้านให้คงทน รวมถึงมีการเก็บแนวผนังรับน้ำหนักเดิมไว้ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ก่อนจะเพิ่มผนังภายในใหม่บางส่วนเพื่อใช้เป็นผนังกั้นห้องพักต่างๆ ซึ่งผนังใหม่นี้เป็นผนังเบาใส่แผ่นโฟมไว้ภายในผนังเพื่อกันเสียงรบกวน

จากความเฉลียวฉลาดของผู้ออกแบบในการนำแนวคิด Adaptive-Reuse มาใช้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงอาคารในแต่ละยุคสมัย ได้สัมผัสกับของแท้ดั้งเดิม และได้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงช่างของคนสมัยก่อนอีกด้วย ที่นี่จึงไม่ใช่เพียงที่พักสำหรับนักเดินทางเท่านั้น แต่คุณจะได้ซึมซับถึงคุณค่าทั้งเชิงประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมในทุกนาทีที่ได้อยู่ที่นี่

1

ภาพอาคาร : สันนิษฐานว่าแต่เดิมสร้าง ๓ ห้องขึ้นก่อน และต่อเติมในระยะเวลาเดียวกันอีก ๒ ห้อง มีการตกแต่งเสาปูนด้วยการเซาะร่องและประดับลวดลายปูนปั้น บริเวณประตูหน้าต่าง และมีซุ้มปูนปั้นลักษณะโค้งประดับเหนือประตูและหน้าต่างบนผนังภายนอกอาคาร ระเบียงด้านหน้าอาคารประดับด้วยเหล็กดัดลวดลายประณีต

2

ภาพอาคารก่อนบูรณะปรับปรุง

 

3

ภาพอาคารขณะปรับปรุง เน้นการรักษาแนวผนังและโครงสร้างหลัก โดยการเสริมความแข็งแรง และซ่อมแซมเฉพาะในส่วนที่วัสดุเสื่อมสภาพ ไม่มีขยายขอบเขตหรือต่อเติมพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร เก็บแนวผนังรับน้ำหนักที่เป็นของเดิมของอาคารไว้หมด เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

 

การขุดสำรวจฐานราก : การสำรวจวิศวกรรมโครงสร้าง โดยการขุดสำรวจฐานรากเพื่อทำความเข้าใจระบบโครงสร้างดั้งเดิมของอาคาร รวมถึงประเมินความแข็งแรงของอาคารก่อนดำเนินการ

การขุดสำรวจฐานราก : การสำรวจวิศวกรรมโครงสร้าง โดยการขุดสำรวจฐานรากเพื่อทำความเข้าใจระบบโครงสร้างดั้งเดิมของอาคาร รวมถึงประเมินความแข็งแรงของอาคารก่อนดำเนินการ

5

การขุดค้นโบราณคดี : โดยอาคารในช่วงแรกหรือช่วงเริ่มก่อสร้างนั้น การถมพื้นด้วยอิฐหักกากปูนก่อนจะสร้างกำแพงขึ้นมาโดยอาศัยกำแพงเป็นที่รับน้ำหนักของอาคาร มีการทำเสาไม้กลมไว้สำหรับรองรับพื้นบ้าน ส่วนกลางของบ้านมีการถมด้วยอิฐหักและเศษภาชนะดินเผาและปรับพื้นให้เรียบและก่อเสาอิฐขึ้นไป ช่วงที่ ๒ ช่วงปรับปรุงบ้าน เป็นช่วงทีทำการซ่อมแซมอาคาร เช่นอาจจะมีการแทนที่เสาไม้กลมด้วยเสาไม้สี่เหลี่ยม การแทนที่เสาไม้บ้านต้นด้วยเสาปูนซีเมนต์ และการเทปูนซีเมนต์หล่อรอบเสาอิฐกลางบ้าน

ภาพเปรียบเทียบ หลังและก่อน ปรับปรุง

ภาพเปรียบเทียบ หลังและก่อน ปรับปรุง

ภายในบ้านหลังปรับปรุง ชั้น ๑ โถงนิทรรศการ และแผนกต้อนรับ

ภายในบ้านหลังปรับปรุง ชั้น ๑ โถงนิทรรศการ และแผนกต้อนรับ

9

หลังปรับปรุง ภายในบ้านแสดงโครงสร้างอาคารเดิม

แสดงความคิดเห็น